วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (Computer Network) หมายถึง ระบบการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์จานวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศ รวมถึงอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีบทบาทสาคัญต่อหน่วยงานต่าง ๆ โดยทาให้เกิดการทางานร่วมกันเป็นกลุ่ม ทางานพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ สามารถใช้ข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน และใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า เช่น ใช้เครื่องประมวลผลร่วมกัน แบ่งกันใช้แฟ้มข้อมูล ใช้เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์ที่มีราคาแพงร่วมกัน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายของหน่วยงาน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์

1) เครือข่ายคอมพิวเตอร์เฉพาะที่หรือแลน (Local Area Network: LAN) เป็นเครือข่าย ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใกล้กัน เช่น ภายในสานักงาน ภายในอาคาร ภายในองค์กร เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ สายตีเกลียวคู่ คลื่นวิทยุ เป็นต้น และอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายเส้นใยนาแสงหรือคลื่นวิทยุแบบใดแบบหนึ่งหรือผสมผสานกันก็ได้ แต่เครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยเราท์เตอร์อีกทีหนึ่ง
แลนเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน ภายในอาคารเดียวกัน แต่อยู่คนละห้องกัน


2) เครือข่ายนครหลวงหรือแมน (Metropolitan Area Network: MAN) เป็นเครือข่ายข้อมูลที่ครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์มากกว่าเครือข่ายแลน เช่น การเชื่อมต่อระหว่างองค์กรต่าง ๆ ภายในอาเภอหรือจังหวัด เป็นต้น ซึ่งลักษณะการนาเครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายที่อยู่ห่างกันมาต่อถึงกันผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น ไมโคเวฟ คลื่นวิทยุ ดาวเทียม เป็นต้น จะทาให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่ายมีความเร็วไม่สูงมาก
การเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ภายในเมือง ไม่อยู่ห่างไกลมาก ควรใช้การเชื่อมต่อแบบแมน


3) เครือข่ายบริเวณกว้างหรือแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการเชื่อมต่อเครือข่ายแลนหลาย ๆ เครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยอานวยความสะดวกในการติอต่อสื่อสารขององค์กรต่าง ๆ เช่น ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาลเป็นต้น สามารถครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์มากกว่าเครือข่ายแบบแมน โดยจะเชื่อมต่อผ่านสื่อกลางต่าง ๆ เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น แต่มีข้อจากัดในการรับส่งข้อมูล ต้องเป็นข้อมูลที่มีปริมาณไม่มากนักในแต่ละระดับ และยังมีปัญหาความล่าช้าด้วย
เครือข่ายแวน เหมาะสาหรับเชื่อมโยงระหว่างองค์กร ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว


4) อินทราเน็ต (Intranet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์กรหรือหน่วยงานที่นำซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่ายเพื่อระบบงานภายใน โดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร โดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เน็ตซอฟต์แวร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดี่ยวกับที่ใช้งานในอินเทอร์เน็ตและขยายเครือข่ายไปทุกแผนก ให้บุคลากรสามารถเรียกค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้
ประโยชน์ของอินทราเน็ต


เผยแพร่เอกสารที่ต้องการสื่อสารให้พนักงานทราบทางอินทราเน็ตโดยนำไปใส่ในเว็บ ซึ่งพนักงานสามารถเปิดดูได้ วิธีนี้สามารถประหยัดกระดาษและลดค่าใช้จ่ายได้มาก
ลดช่องว่างในการประสานงานระหว่างพนักงาน สามารถนำข้อมูลที่ต้องการให้ทีมงานออกความคิดเห็น รวบรวมการตอบสนองที่ได้มาประมวลผลได้ทันทีและสามารถสื่อสารความคืบหน้าของงาน ตามงาน และนัดเวลาประชุมได้โดย
ผ่านอินทราเน็ต
สามารถเชื่อมต่อระบบอินทราเน็ตกับฐานข้อมูล พนักงานสามารถค้นหาและสอบถามข้อมูลที่ต้องการได้ในทันที
ลดเวลาในการเรียนรู้ พนักงานใช้อินเทอร์เน็ตเป็นอยู่แล้วไม่ต้องเสียเวลาเรียนรู้ ลดค่าใช้จ่ายในการอบรม

5) เครือข่ายเอ็กทราเน็ต (Extranet) หรือ เครือข่ายภายนอกองค์กร
คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมต่อภายในองค์กร (Intranet) เข้ากับระบบที่อยู่ภายนอกองค์กรโดยการเชื่อมโยงอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรง (Direct Link) ระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบ เครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบเครือข่าย Intranet จำนวนหลายๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตได้
ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุมัติให้ใช้งานเพาะสมาชิกขององค์กรหรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตอาจจะถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้ที่สนใจทั่วไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันออกไป
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต เป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้ต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองค์กรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี

6) อินเทอร์เน็ต (Internet) เทคโนโลยีเครือข่ายในปัจจุบันได้พิสูจน์แล้วว่า เป็นแรงผลักดันในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยให้การใช้ชีวิตสะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน การเล่น และการเรียนรู้ สำหรับผู้บริหารที่มองโลกในแง่ดีสักหน่อยก็คงเห็นด้วยว่าการนำเทคโนโลยีด้านเครือข่ายและสารสนเทศมาใช้งานนั้น สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นองค์กรทางภาครัฐหรือภาคเอกชน เทคโนโลยีเครือข่ายที่มักจะนำมาใช้นั้นที่เรารู้จักกันอย่างก็คือ “อินเทอร์เน็ต (Internet)”
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง แต่เนื่องจากมีขนาดใหญ่ มีผู้ใช้งานหลายสิบล้านคนกระจายไปทั่วโลก จึงมีข้อมูลมากมายมหาศาลแลกเปลี่ยนกันในเครือข่าย สำหรับประเทศไทยนั้น อินเทอร์เน็ตเริ่มมีบทบาทอย่างมากในช่วงปี 2530 –2535 โดยเริ่มจากการเป็นเครือข่ายในระบบคอมพิวเตอร์สถาบันการศึกษาโดยมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งเอเซีย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันแรก ๆ แล้วจึงเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตอย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2535 จึงมีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์ โดยบริษัทแรกที่เปิดดำเนินการเป็นผู้บริการอินเทอร์เน็ต ISP คือบริษัท KSC คอมเมอเชียล อินเทอร์เน็ต หลังจากนั้นก็มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งขณะนี้เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (www.) กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในอเมริกา อย่างไรก็ตาม อินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มีการเรียกย่อเป็น เน็ต (Net) หรือ The Net ด้วยเช่นเดียวกัน อีกคำหนึ่งที่หมายถึงอินเทอร์เน็ตก็คือ เว็บ (Web) และ เวิร์ลด์ไวด์เว็บ (World–Wide–Web) จริง ๆ แล้ว เว็บเป็นเพียงบริการหนึ่งของอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่บริการนี้ถือว่าเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด

บริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ต
WWW (World Wide Web) คือ บริการข่าวสารผ่านทางหน้าเอกสารอินเทอร์เน็ต (เว็บเพจ) มีรูปแบบเหมือนกับสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ เช่น นิตยสารและหนังสือ แต่มีข้อดีที่ตัวหนังสือของเว็บเพจสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่น ๆ ได้ทำให้การค้นหาข้อมูลทำได้โดยง่าย และยังสามารถเผยแพร่ข้อมูลได้ทั่วโลกได้ทันทีในราคาถูก ข้อมูลมีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโด ข้อมูลอยู่ในรูป Interactive Multimedia
FTP (File Transfer Protocol) คือ บริการไฟล์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เราสามารถนำไฟล์รูปภาพ เสียง ฯลฯ ลงมาเก็บที่เครื่องของเราโดยผ่านโปรแกรมในการเชื่อมต่อหรือผ่านทางอินเตอร์เน็ตก็ได้
E–mail (electronic mail) คือ บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถเหมือนกับจดหมายจริง ๆ แต่ส่งผ่านไปหรือรับทางเครือข่าย

อินเทอร์เน็ตแทน ทำให้เร็วและประหยัดกว่าการส่งจดหมายแบบเดิม
IRC (Internet Relay Chat) เป็นแหล่งพูดคุยกันในอินเทอร์เน็ต สามารถคุยโต้ตอบกันได้ทันที โยการพิมพ์ข้อความ โดยผ่านโปรแกรม

เช่น Pirch, ICQ, Qq–thai เป็นต้น
ค้นหาข้อมูล (Search Engine) เนื่องจากข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีมากมายเราจึงจำเป็นต้องมีการค้นหาเพื่อให้รวดเร็วและสะดวก ประหยัดเวลาด้วย
Home – page ผู้บริหารสามารถทำ Home – page ของบุคคลหรือองค์กรธุรกิจได้ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ธุรกิจให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
การทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต (E–Commerce) เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยการสร้าง Home–page และใส่รายละเอียดของสินค้าลงไป ถ้ามีผู้สนใจก็สามารถเข้าไปดูรายละเอียดและเจรจาต่อรองหรือสั่งซื้อได้เลย
ปัจจุบันการใช้อินเทอร์เน็ตแพร่หลายใช้ได้สะดวกสบายขึ้น มีการเชื่อมต่อกับโทรศัพท์มือถือ สำหรับผู้บริหารที่ใช้คอมพิวเตอร์พกพา โน๊ตบุกส์หรือ

แลปท็อป ก็สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้สายได้ในทุกสถานที่
ในปัจจุบันการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามาใช้ในการดำเนินงานมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปฏิวัติธุรกิจจากการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมมาเป็นธุรกิจ

แบบอีบิสิเนส (e – Business) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในทุกระบวนการของการทำงานในองค์กรธุรกิจทั่วไปและการสร้างประบวนการโต้ตอบและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

ระหว่างองค์กร เช่น การนำระบบการจัดซื้อออนไลน์ (e–Procurement) หมายถึง การจัดซื้อจัดจ้างโดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมหรือระดับกระทรวง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐอย่างเป็นรูปธรรมการทำธุรกิจ

ออนไลน์ (e-Commerce) เข้ามาใช้ในการติดต่อสัมพันธ์กับเครือข่ายภายนอกองค์กร หรือแม้กระทั่งการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาใช้งานในการสื่อสารภายในองค์กร เช่น การจัดให้มีระบบ Intranet ขึ้นในองค์กรเพื่อใช้ในการแจ้งถึงนโยบายและวิธีการปฏิบัติต่างให้กับพนักงานตลอดจนมีการพัฒนามาใช้ในการฝึกอบรม (e-learning) ภายในองค์กรซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก